ไวรัสตับอักเสบ B

โรคไวรัสตับอักเสบ B เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตับ
• โรคไวรัสตับอักเสบ B แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบฉับพลัน และแบบเรื้อรัง
• อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ B จะแสดงออกมา 2 ถึง 3 เดือนหลังได้รับเชื้อ
• อาการที่พบได้บ่อยคือ อาการดีซ่าน (ร่างกายและตาเป็นสีเหลือง) ฉี่มีสีเข้ม และอาการปวดท้องด้านขวา
• โรคไวรัสตับอักเสบ B สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด
• โรคไวรัสตับอักเสบ B สามารถติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น การใช้เข็ดฉีดยาร่วมกัน , การมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ป้องกัน และการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน)
• โรคไวรัสตับอักเสบ B ป้องกันได้ด้วยการฉีดวีคซีน และมีเพศสัมพันธ์โดยมีการป้องกัน

โรคไวรัสตับอักเสบ B เกิดจากการติดเชื่อไวรัสตับอักเสบB ที่ตับ และทำให้ตับเสียหายอย่างถาวร
โรคไวรัสตับอักเสบ B แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
• โรคไวรัสตับอักเสบ B แบบฉับพลัน : แสดงอาการในระยะเวลาสั้นๆ
• โรคไวรัสตับอักเสบ B แบบเรื้อรัง : แสดงอาการเมื่อติดเชื้อผ่านไปแล้ว 6 เดือน และเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต

แสดงอาการทันที
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ B เป็นดังนี้
• ผิวหนังมีลักษณะเหลืองขึ้น และตาขาวมีสีเหลือง (ภาวะดีซ่าน)
• ฉี่สีเข้ม
• เมื่อยล้า
• คลื่นไส้ และอาเจียน
• ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
• ปวดท้อง
• ไม่อยากอาหาร
• ผื่นคัน
• ปวดท้องด้านขวา
• มีไข้
อาการเหล่านี้จะแสดงออกเมื่อติดเชื้อไปได้ 2 -3 เดิอร และจะกินระยะยาวนานถึง 6 สัปดาห์จนไปถึง 6 เดือน

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B มาจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง (เช่น เลือด , น้ำอสุจิ ,ของเหลวจากช่องคลอด.น้ำลาย)จากผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B โดยไวรัสจะต้องผ่านเข้าทางแผลบนผิวหนัว หรือบริเวณที่เยื่อบุเมือกบนร่างกาย
ยกตัวอย่างเช่น
• การใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ที่เจาะยาเข้าร่างกายร่วมกัน
• ใช้มีดโกน แปรงสีฟัน และที่ตัดเล็บร่วมกัน
• การมีเพศสัมพันธุ์
• การสักโดยใช้เข็มที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
• การสัมผัสคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
• เกิดจากแม่ที่ติดโรคไวรัสตับอักเสบ B
• อุบัติเหตุการจากโดนเข็มที่มีสารคัดหลั่งหรือเลือดผู้ติดเชื้อตำ
• การถ่ายเลือด
ไวรัสตับอักเสบB จะไม่ติดจากการจาม ไอ หรือการทานอาหารร่วมกับผู้ติดเชื้อ และไม่สามารถติดต่อทางน้ำลาย น้ำตา และการให้นมบุตรได้

อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีผู้ติดเชื่อไวรัสตับอักเสบ B หนาแน่น (ประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น)
• บุคคลที่จะจะทำการบำบัดด้วยเคมี และการรักษาที่กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
• บุคคลที่ติดเชื้อ HIV และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ C
• คนที่ตั้งครรภ์
ถ้าคุณมีความเสี่ยงที่สัมผัสกับเลือดของผู้ติดเชื้อ หรือสารคัดหลั่ง ให้พบแพทย์ให้ไวที่สุด เพราะมีวิธีการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเมื่อได้สัมผัสกับเชื้อในระยะเวลาสั้นๆ

ไม่มีการักษาโรคไวรัสตับอักเสบBแบบฉับพลัน
สำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจะต้องมีการรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย และต้องทำการตรวจร่างกายเป็นประจำ

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B ที่ได้ผลและปลอดภัยคือ การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B
บุคคลที่ควรฉีดวัคซีนมีดังนี้
• บุคคลที่อาศัยอยู่กับผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
• บุคคลที่มีคู่นอนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B
• บุคคลที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B
• เพศชายที่มีเพศสัมพันธุ์กับเพศชายด้วยกัน
• บุคคลที่มาจากประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ Bสูง(ประเทศไทย)
• ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องล้างไต
• บุคคลที่มีโรคไวรัสตับอักเสบ C แบบเรื้อรัง
• บุคคลที่ฉีดยาเข้าร่างกาย
• บุคคลที่ทำการถ่ายเลือด
• บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับเลือด สารคัดหลั่ง เช่น ช่างสัก สัปเหร่อ ทหาร ตำรวจ และบุคคลที่ทำงานในสถารพยาบาล
• บุคคลที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีคนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B สูง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไวรัสตับอักเสบ B ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ติดเชื้อ
ผู้ติดเชื้อที่เป็นวัยรุ่น หรือ ผู้ใหญ่จะเจอกับโรคไวรัสตับอักเสบ Bแบบฉับพลัน และมีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ B แบบเรื้อรัง หรือบางรายอาจจะเป็นแบบไม่แสดงอาการ
ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ (ประมาณ 95%) จะกำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายได้หลังจาก 6 เดือนผ่านไป และพัฒนาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบ Bในอนาคต และตับไม่เสียหายแบบยาวนาน อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่ 1 ใน 20 คนอาจจะไม่สามารถกำจัดไวรัสได้หมด และมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับแข็ง และ มะเร็งตับในระยะยาว

เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบ B และทำให้ตับทางานอย่างปกติ ควรปฎิบัติดังนี้
• ใข้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
• ปิดบาดแผลบนผิวหนัง
• งดการบริจาคเลือด อวัยวะ และอสุจิ
• งดการใช้ของใช้ในบ้านร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน มีดโกนหนวด
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
• ฉัดวัควีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ A

TESTBKK-คลิกนิกที่มีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถเข้ารับปรึกษาเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่ https://www.testbkk.org/th

สถาบันบำราศนราดูร-โรงพยาบาลในการดูแลของกรมควบคุมโรคที่เชี่ยวชาญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
https://ddc.moph.go.th/bidi/

โรงพยาบาลราชพฤกษ์-โรงพยาลที่มีเครื่องมือและบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่รวดเร็วและแม่นยำ
https://rph.co.th/

สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย-แหล่งรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับโรคตับทั้งการใช้ชีวิตและวิธีการป้องกัน
https://thasl.org/

Control guidelines – hepatitis b control guideline. Hepatitis B control guideline – Control guidelines. (n.d.). https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/controlguideline/Pages/hepb.aspx#3.
เข้าชมเมื่อ : กันยายน 2564

Centers for Disease Control and Prevention. Hepatitis B – FAQs, STATISTICS, data, & guidelines. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/index.htm.
เข้าชมเมื่อ : กันยายน 2564

ข้อมูลในเว็บไซต์ TestBKK เป็นเพียงข้อมูลแนะนำทั่วไปเท่านั้น  ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าต้องการคำแนะนำเรื่องยาอี คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

MENU

SOCIAL MEDIA