“Zoliflodacin Study” เป็นการศึกษาผลิตภัณฑ์วิจัยยาโซลิโฟลดาซิน ชนิดรับประทาน เพื่อประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และความทนต่อยา เปรียบเทียบการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโรคหนองในที่ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์ชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (ในกลุ่มเพศชายโดยกำเนิด สำหรับการเข้าร่วมที่คลินิกชุมชนสีลม) เนื่องจากโรคหนองในสายพันธ์ุที่กำลังระบาดอยู่ในเวลานี้ เป็นประเภทที่ไม่ตอบสนองกับยาตัวเดิมที่ใช้รักษาอยู่ มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า “หนองในดื้อยา”
หากผ่านเกณฑ์การพิจารณา ( ดูเกณฑ์การพิจารณาจากลิ้งค์ด้านล้างได้ )
สิ่งที่อาสาสมัครในโครงการจะได้รับ
ได้รับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (หนองใน)
มีค่าตอบแทนให้ ได้รับค่าเสียเวลาและค่าเดินทางโดยประมาณ 1,200 บาทต่อครั้ง
คุณสมบัติ
มีอายุมากกว่า 18 ปี ขึ้นไป
มีอาการฉี่แสบขัด หรือน้องชายมีหนองไหล
ไม่กินยารักษาหนองในด้วยตนเอง (เพราะยาที่จะทดลองจะไม่ได้ผล)
เต็มใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
อื่น ๆ ตามลิงค์ด้านล้าง
หรือสแกนที่นี่
แผนที่ที่ตั้งของคลินิกสีลม @ทรอปเมด
นอกจากบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ทางคลินิกยังมีวิจัยในการพัฒนายาที่จะทำให้ชีวิตของพวกเราง่ายขึ้น เทสบีเคเคจึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของทางคลินิกชุมชนสีลมด้วยครับ นอกจากจะเป็นการช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์แล้ว ยังได้รับค่าเสียเวลาเมื่อท่านได้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย มีรายละเอียดด้านล่างนี้เลยครับ
• โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย
• โรคหนองในจะติดเชื้อตรงท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ลำคอ และดวงตา
• ในผู้หญิงอาการของโรคนหองในจะแสดงออกมาหลังติดเชื้อภายใน 10 วัน ส่วนผู้ชายจะแสดงอาการเมื่อติดเชื้อภายใน 3 วัน
• อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีของเหลวข้นสีเหลือง หรือสีขาวไหลออกมาจากอวัยวะเพศ และมีอาการปวดแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ
• โรคหนองในสามารถแพร่เชื้อได้เมื่อมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ปาก และทวารหนัก
• โรคหนองในวินิจฉัยได้ด้วยการเก็บตัวอย่างจากท่อปัสสาวะในผู้ชาย และปากมดลูกในผู้หญิง
• การมีเพศสัมพันธุ์โดยป้องกันสามารถป้องกันโรคหนองในได้
• โรคหนองในจะสร้างความเสียหายถาวรต่อดวงตา ข้อต่อ และส่งผลให้เป็นหมันได้
โรคโกโนเรีย หรือโรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยจะแบคทีเรียชนิดนี้จะติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ ปาดมดลูก ทวารหนัก ลำคอ หรือดวงตา
ในผู้ชาย อาการจะชัดเจนเมื่อติดเชื้อได้ 1 ถึง 3 วัน อาการมีดังนิ้
• มีของเหลวสีขาว หรือสีเหลืองข้นไหลออกมาจากองคชาต
• รู้สึกแสบ ปวดร้อน เมื่อปัสสาวะ
• ปวดอัณฑะ
• ปลายท่อปัสสาวะเป็นสีแดง
• ปวดคอ คอแห้ง
ในผู้หญิงอาการจะปรากฏ 10 วันหลังจากรับเขื้อ อาการเป็นดังนี้
• มีของเหลวไหบจากช่องคลอด
• ปวดแสบ และไม่สบายเวลาปัสสาวะ
• ปวดที่อุ้มเชิงกรานเมื่อมีเพศสัมพันธุ์
• มีเลือดออกมากผิดปกติ เมื่อมีประจำเดือน หรือมีเพศสัมพันธุ์
• ปวดคอ คอแห้ง
โรคหนองในเกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ป้องกันทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก กับผู้ที่ติดเชื้อ
โรคนี้สามารถติดต่อได้จากอวัยวะเพศผ่านทางนิ้วมือ หรือฝ่ามือไปยังดวงตา
โรคหนองในสามาถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้เมื่อลูกคลอดออกมา ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในตาจนกระทั่งตาบอด
การตรวจหาโรคหนองใน สามารถตรวจได้ด้วยการเก็บตัวอย่างเซลล์จากท่อปัสสาวะในผู้ชาย
และในปากมดลูกสำหรับผู้หญิง และสามารถใช้วิธีการตรวจปัสสาวะ
บางครั้งก็เก็บตัวอย่างเซลล์จากคอและทวารหนัก
การมีเพศสัมพันธุ์แบบป้องกัน เป็นวิธีที่สุดสำหรับป้องกันโรคหนองใน
• ใช้ถุงยางอนามัย
• ใช้แผ่นอนามัย เมื่อมีการใช้ปาก
• หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน จนกว่าคนๆนั้นจะได้รับการักษา และหายดีแล้ว
• ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคหนองในจะสร้างความเสียหายอย่างถาวรต่อดวงตา ข้อต่อ หัวใจ และสมอง
ในผู้หญิง โรคหนองในทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ ที่ทำให้เป็นหมันได้ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะรู้สึกได้ถึงอาการเจ็บในช่องท้อง โดยเฉพาะตอนมีเพศสัมพันธุ์ และเจ็บปวดประจำเดือน พร้อมมีไข้
โรคหนองในทำให้ผู้ชายเป็นหมันได้ ถ้าเชื้อหนองในทำให้ท่อนำสเปริ์มเสียหาย
ถ้าบุคคลได้รับการวินิจฉัยว่าติดโรคหนองใน เขาจะต้องบอกคู่นอนที่มีเพศสัมพันธุ์ด้วยล่าสุด เพื่อที่คู่นอนจะได้ไปตรวจโรคและเริ่มทำการรักษา. วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนของโรคหนองใน และช่วยลดการแพร่เชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อหนองในควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์จนกว่าจะรัก๋ษาโรคหนองในจนหายขาด
TESTBKK-คลิกนิกที่มีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถเข้ารับปรึกษาเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่ https://www.testbkk.org/th
สถาบันบำราศนราดูร-โรงพยาบาลในการดูแลของกรมควบคุมโรคที่เชี่ยวชาญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
https://ddc.moph.go.th/bidi/
Australian Government Department of Health.
https://www.health.gov.au/resources/pregnancy-care-guidelines/part-f-routine-maternal-health-tests/syphilis.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
Centers for Disease Control and Prevention. (2021, August 5). Syphilis – Std information from CDC. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/std/syphilis/default.htm.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
ข้อมูลในเว็บไซต์ TestBKK เป็นเพียงข้อมูลแนะนำทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าต้องการคำแนะนำเรื่องยาอี คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ