โรคหนองในเทียมคืออะไร
โรคหนองในเทียมคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อที่มีชื่อว่า คลามายเดีย ทราโคมาโดยโรคนี้มักจทิส ะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
อาการของโรคหนองในเทียมมีอะไรบ้าง
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหนองในเทียมมักจะไม่แสดงอาการ จึงทำให้ผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองหรือคู่นอนเป็นโรคนี้ อาการของโรคมักจะปรากฏขึ้นภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน 7 – 14 วัน
อาการที่พบได้ในเพศชาย
• มีของเหลวขุ่นคล้ายนมออกมาจากอวัยวะเพศ
• ท่อเปิดของอวัยวะเพศมีอาการบวมแดง
• รู้สึกปวดแสบเวลาปัสสาวะ
• อัณฑะมีอาการบวมและปวด
โรคหนองในเทียมสามารถติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการหลายเดือนในเพศชาย และไม่แสดงอาการหลายปีในเพศหญิง
ในเพศหญิง เชื่อหนองในเทียมจะติดเชื้อที่ปากมดลูก
ในเพศชายเชื้อหนองในเทียมจะติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ และที่อัณฑะ นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื่อได้ที่ทวารหนัก คอ หรือที่ดวงตาได้อีกด้วย
เราติดโรคหนองในเทียมได้อย่างไร?
เชื้อหนองในเทียมสามารถแพร่ได้จากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ที่ติดเชื้อหนองในเทียม
ซึ่งหมายถึงการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการใช้ปากกับอวัยวะเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
การแพร่ของเชื้อหนองในเกิดจากแบคทีเรียที่ก่อโรคได้เข้าไปสู่ร่างกายอีกคนผ่านทางสารคัดหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธุ์
ถ้าคุณติดโรคหนองในเทียม คุณโอกาสที่จะแพร่เชื่อสู่อีกคนได้่ถึง 30% – 50%
และโรคหนองในเทียมส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการ
คุณจึงไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายติดโรคนี้หรือไม่
โรคหนองในเทียมไม่สามารถติดเชื้อได้ผ่านการใช้ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ หรือการสัมผัสทั่วไปกับผู้อื่น
โรคนี้จะแพร่ผ่านทางสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศเท่านั้น แม้แต่เด็กที่คลอดก็สามารถติดเชื้อนี้ได้จากแม่ที่เป็นหนองในเทียม
เชื่อหนองในเทียมสามรถเจริญในในจมูก อวัยวะเพศ หรือทวารหนักได้นานมากกว่า 2 ปี
เราติดโรคหนองในเทียมได้อย่างไร?
เชื้อหนองในเทียมสามารถแพร่ได้จากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ที่ติดเชื้อหนองในเทียม
ซึ่งหมายถึงการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการใช้ปากกับอวัยวะเพศโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
การแพร่ของเชื้อหนองในเกิดจากแบคทีเรียที่ก่อโรคได้เข้าไปสู่ร่างกายอีกคนผ่านทางสารคัดหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธุ์
ถ้าคุณติดโรคหนองในเทียม คุณโอกาสที่จะแพร่เชื่อสู่อีกคนได้่ถึง 30% – 50%
และโรคหนองในเทียมส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการ
คุณจึงไม่รู้เลยว่าอีกฝ่ายติดโรคนี้หรือไม่
โรคหนองในเทียมไม่สามารถติดเชื้อได้ผ่านการใช้ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ หรือการสัมผัสทั่วไปกับผู้อื่น
โรคนี้จะแพร่ผ่านทางสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศเท่านั้น แม้แต่เด็กที่คลอดก็สามารถติดเชื้อนี้ได้จากแม่ที่เป็นหนองในเทียม
เชื่อหนองในเทียมสามรถเจริญในในจมูก อวัยวะเพศ หรือทวารหนักได้นานมากกว่า 2 ปี
เราป้องกันโรคหนองในได้อย่างไร?
เพียงแค่ใช้ถุงยางอนามันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศได้
โดยใช้ถุงยางไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธุ์ทางปาก ช่องคลอด และทวารหนัก
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อหนองในเทียม(แม้ว่าจะใช้ถุงยางอนามัย) จะเริ่มสามารถร่วมเพศได้หลังจากผู้ติดเชื้อได้รับการักษาหนองใน และรอ1 อาทิตย์หลังเขาทานยาชุดสุดท้ายหมด
ถ้าคุณอายุต่ำกว่า 30 และยังมีเพศสัมพันธุ์อยู่ตลอด ให้จำไว้ว่าคนติดโรคหนองในเทียมจะไม่แสดงอาการอะไร และไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดโรคหนองใน ดังนั้นถ้าคุณมีความเสี่ยงและสงสัยให้รีบไปตรวจเลือดทันที คุณสามารถช่วยลดการแพร่เชื้อได้ เมื่อได้รับการตรวจ และรักษาที่ถูกต้อง
อาการแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม
ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อหนองในเทียมจะทำให้เกิดอาการปวดข้อ ผื่น และอาการอักเสบที่ตาหรือทวารหนัก
ในเพศหญิงเชื่อหนองในเทียมจะติดเชื้อที่มดลูก
• ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ และจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ (เช่นการตั้งท้องนอกมดลูก) ผู้หญิงที่ติดเชื้อหนองในเทียมมีโอกาส 1 ใน 12 ที่จะแท้งลูก
สำหรับเพศชาย
• เชื่อหนองในเทียมจะแพร่สู้อัณฑะผ่านทางท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวด และทำให้เป็นหมัน
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เมื่อติดโรคหนองในเทียมจะทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด และเด็กที่คลอดจะมีอาการติดเชื้อในปอดและตา
การใช้ชีวิตอยู่กับโรคหนองใน
เมื่อคุณติดเชื้อนี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกอับอาย และทำใจได้ยาก แต่คุณสามารคุยกับคนในครอบครัว หรือเพื่อนที่คุณเชื่อใจ หรือฟังเรื่องราวของผู้ที่เคยติดเชื้อหนองในเทียมมาก่อน
ปัจจุบันโรคหนองในเทียมสามารถตรวจและเข้ารับการรักษาได้ที่
TESTBKK-คลิกนิกที่มีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถเข้ารับปรึกษาเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่ https://www.testbkk.org/th
สถาบันบำราศนราดูร-โรงพยาบาลในการดูแลของกรมควบคุมโรคที่เชี่ยวชาญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
https://ddc.moph.go.th/bidi/
โรงพยาบาลราชพฤกษ์-โรงพยาลที่มีเครื่องมือและบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่รวดเร็วและแม่นยำ
https://rph.co.th/
Australian Immunisation Handbook (Hepatitis B), National Centre for Immunisation Research and Surveillance (Hepatitis B vaccines for Australians fact sheet), Department of Health (Hepatitis B immunisation service), World Health Organization (Hepatitis B), Hepatitis Australia (Hepatitis B), NSW Health (Hepatitis B fact sheet), SA Health (Hepatitis B Frequently Asked Questions), Department of Health (Pregnancy care guidelines: hepatitis B)
Learn more here about the development and quality assurance of healthdirect content.
เข้าชมเมื่อ : เมษายน 2564
https://en.aidshilfe.de/chlamydia-infection
ข้อมูลในเว็บไซต์ TestBKK เป็นเพียงข้อมูลแนะนำทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าต้องการคำแนะนำเรื่องยาอี คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ