• โรคซิฟิลิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และสามารถพัฒนาเป็นโรคที่มีความรุนแรงได
• ซิฟิลิสมีสี่ระยะ : ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะที่ซ่อนเร้น และระยะที่สี่
• ระยะซ่อนเร้นจะไม่พบอาการ และสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือด
• ระยะที่สี่เป็นระยะที่ซิฟิลิสทำลายอวัยวะภายในร่างกายเกือบทั้งหมด
• ซิฟิลิสสามารถแพร่เชื้อผ่านทางการสัมผัสระหว่างผิวหนังระหว่างมีเพศสัมพันธุ์ทางปาก ช่องคลอด และทวารหนัก
• ซิฟิลิสสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด แต่ทว่าจะตรวจพบเมื่อติดเชื้อผ่านไปแล้ว 3 เดือน
• ซิฟิลิสสามารถก่อให้เกิดภาวระแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก และทารกตายหลังแรกคลอด
• ซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ด้วยการมีเพศสัมพันธุ์อย่างป้องกัน
• เมื่อติดซิฟิลิสแล้วจะสามารถติดโรคซิฟิลิสได้อีกครั้ง
โรคซิฟิลิส คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และสามารถพัฒนาเป็นอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
ผู้ติดซิฟิลิสจะไม่แสดงอาการ หรือไม่ทราบจนกว่าจะได้รับการตรวจ โดยโรคซิฟิลิสจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ ดังนี้
โรคซิฟิลิสระยะแรก
เมื่อติดเชื้อได้ 3 ถึง 4 สัปดาห์ จะมีแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บขนาด 1 เซนติเมตรตรงที่ติดเชื้อ เช่นอวัยวะเพศชาย ช่องคลอด ปากมดลูก ปาก หรือทวารหนัก แผลอาจจะใหญ่มากกว่า 1 แผล และสามารถมองเห็นได้ยาก เพราะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ และซ่อนอยู่ในที่มองเห็นยาก เช่นในลำคอ ช่องคลอด หรือทวารหนัก
แผลอาจจะหายไปเองเมื่อผ่านไป 3ถึง6 อาทิตย์ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคซิฟิลิสก็จะดำเนินไปยังระยะต่อไป และสามารถแพร่ใส่คนอื่นได้
โรคซิฟิลิสระยะที่สอง : เมื่อติดเชื้อได้ 7 ถึง 10 อาทิตย์ จะพบอาการดังต่อไปนี้
• ผื่นแดงตามมือ ส้นเท้า หน้าอก หรือที่หลัง
• มีไข้
• ต่อมน้ำเหลืองโต
• เจ็บคอ
• ผมร่วง
• น้ำหนักลด
• ปวดหัว
• ปวดตามกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
• เหนื่อยล้า
• มีแผลขึ้นในปาก รูจมูก หรืออวัยวะเพศ
โรคซิฟิลิสระยะที่สาม หรือ ระยะแฝง : เมื่อติดเชื้อตั้งแต่ 12 เดือน ถึง 24 เดือนจะเข้าสู่ระยะนี้ ระยะนี้จะไม่พบอาการอะไร และจะทราบได้เมื่อตรวจเลือดเท่านั้น ถ้ายังไม่ได้รับการรักษาในระยะนี้ โรคจะเข้าสู่ระยะที่สี่
โรคซิฟิลิสระยะที่สี่ : จะพบเมื่อติดเชื้อตั้งแต่ 5ปี ถึง 20ปี โดยระยะนี้เขื้อซิฟิลิสได้สร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายเกือบทั้งหมด ตั้งแต่หัวใจ สมอง ไขสันหลัง ดวงตา และกระดูก ทำให้มีอาการของโรคหัวใจ โรคทางจิตใจ หูหนวก และอาการทางประสาทอื่นๆ
ซิฟิลิสคือเชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถติดต่อได้ทางผิวหนังผ่านทางเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปาก นอกจากนี้ยังติดต่อได้จากการสัมผัสบาดแผลของผู้ติดเชื้อ เช่น ที่ริมฝีปาก ปาก หน้าอก และอวัยวะเพศ
โรคซิฟิลิสจะสามารถติดได้ง่ายที่สุดเมื่อมีแผล หรือผื่นอยู่บนผู้ติดเชื้อ และยังสามารถแพร่ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการอื่นๆที่แสดงออกมา
ซิฟิลิสสามารถติดต่อได้ทางเลือดได้ เช่นการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่สามารถติดได้น้อยมากผ่านการบริจาคเลือด
แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคซิฟิลิส โดยจะวัดจากปริมาณแอนตี้บอดี้ของเชื้อซิฟิลิสที่พบในร่างกาย โดยถ้าผลเลือดเป็นบวกต่อแอนตี้บอดี้ซิฟิลิสก็แปลว่า มีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอาจจะต้องรอถึง 3 เดือนให้ร่างกายสร้างแอนตี้บอดี้ขึ้นมาถึงจะสามารถตรวจวัดได้ และมีโอกาสที่ผลจะเป็นลบหลังติดเชื้อแรกๆ
แพทย์อาจจะทำการเก็บตัวอย่างของเซลล์จากผื่น เพื่อไปตรวจสอบต่อไป
เพื่อป้องกันโรคซิฟิลิส เราควรจะ
• ใข้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์
• ใช้แผ่นอนามัยเมื่อมีเพศสัมธุ์ด้วยปาก
• หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์กับคนที่ติดโรคซิฟิลิส หรือบุคคลที่กำลังรักษาโรคซิฟิลิสอยู่
• ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์เป็นประจำ (ทุกๆ 6 ถึง 12 เดือน)
เมื่อติดซิฟิลิสและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมาย และแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย โดยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนในสมอง ดวงตา และหัวใจเป็นหลัก
สำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแท้งลูก คลอดก่อนวัย เด็กแรกคลอดมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยจนไปถึงทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
การแจ้งให้บุคคลที่มีเพศสัมพันธุ์รู้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่พวกเขาจะได้ตรวจ และรักษาได้ทันเวลา
โดยแพทย์จะช่วยคุณตัดสินใจว่าคุณควรบอกใครบ้าง และจะพูดกับพวกเขาอย่างไร
โรคซิฟิลิสสามารถเป็นซ้ำได้อีกครั้ง แม้จะรัก๋ษาจนหายแล้วก็ตาม โดยคุณต้องตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาสำเร็จและหายขาดจากโรคซิฟิลิส
TESTBKK-คลิกนิกที่มีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถเข้ารับปรึกษาเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่ https://www.testbkk.org/th
สถาบันบำราศนราดูร-โรงพยาบาลในการดูแลของกรมควบคุมโรคที่เชี่ยวชาญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
https://ddc.moph.go.th/bidi/
ขอบคุณข้อมูลจาก
Centers for Disease Control and Prevention. (2021, July 22). Detailed std facts – gonorrhea. Centers for Disease Control and Prevention.
from https://www.cdc.gov/std/gonorrhea/stdfact-gonorrhea-detailed.htm.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
NHS. (n.d.). Nhs choices. from https://www.nhs.uk/conditions/gonorrhoea/
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564
ข้อมูลในเว็บไซต์ TestBKK เป็นเพียงข้อมูลแนะนำทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าต้องการคำแนะนำเรื่องยาอี คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ