สเตียรอยด์

ยาอนาบอลิก-แอนโดรจีนิกสเตียรอยด์(Anabolic androgenic steroid) (ยากระตุ้น ยาโด๊ป) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) สเตียรอยด์นี้มีฤทธิ์เสริมสร้าง คือกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ พละกำลัง และความแข็งแรงของร่างกาย จัดเป็นสารสร้างพลังงานและกล้ามเนื้อ (PIEDs) ที่มักใช้เพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่ดีและกระตุ้นศักยภาพของนักกีฬา เป๊บไทด์ (Peptides) สเตียรอยด์มีหลายชนิด แต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายต่างกัน สเตียรอยด์พร้อมใช้ส่วนมากจะมีเป๊บไทด์ ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ฮอร์โมน ประกอบด้วยโกรทฮอร์โมน เช่น AOD-9604, SARMs, MGF, หรือสารกระตุ้นการเจริญเติบโตอินซูลิน สำหรับบุคคลข้ามเพศ คนข้ามเพศบางคนใช้ฮอร์โมนเพศหญิง (androgens) หรือฮอร์โมนอื่นๆ เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายสำหรับการข้ามเพศ ฮอร์โมนบางชนิดที่ใช้กัน เช่น Sustanon หรือ Reandron เป็นฮอร์โมนชนิดฉีดที่ใช้เพื่อกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อในคนที่เล่นกล้ามด้วย ถ้าคุณเป็นคนข้ามเพศที่ใช้ฮอร์โมนข้ามเพศร่วมกับใช้สารกระตุ้นเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ควรติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะการใช้ฮอร์โมนหลายชนิดร่วมกันเพิ่มความเสี่ยงต่อร่างกาย

สเตียรอยด์ใช้ฉีด หรือกินในรูปแบบเม็ด

การใช้ยาหรือสารใดๆ ไม่มีระดับที่ ปลอดภัย การใช้สารทุกชนิดมีความเสี่ยง จึงต้องระมัดระวังเมื่อใช้เสมอ สเตียรอยด์จะออกฤทธิ์แตกต่างกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
– น้ำหนักตัวของผู้ใช้
– สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ใช้
– ความถี่ของการใช้
– การใช้ร่วมกับยาหรือสารตัวอื่น เช่น ยาที่แพทย์สั่งจ่าย
– ปริมาณที่ใช้
– คุณภาพของยา (แตกต่างไปตามการผลิตและประเภทของสเตียรอยด์)

ผลอันพึงประสงค์จากการใช้สเตียรอยด์คือใช้กระตุ้นพละกำลังและเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงในระยะสั้นของการใช้สเตียรอยด์อื่นๆ ได้แก่
– เพิ่มขนาดและความแน่นของกล้ามเนื้อ
– ลดการกักเก็บน้ำในร่างกาย
– ลดสัดส่วนไขมันต่อกล้ามเนื้อ
– เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของร่างกาย
– เพิ่มการกักเก็บน้ำในส่วนใบหน้า ทำให้หน้าอืด ฉุ
– เกิดสิว และรอยแผลเป็นถาวร
– อารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงง่าย
– เป็นไข้บ่อย
– ก้าวร้าว แสดงพฤติกรรมรุนแรง
– เพิ่มความมั่นใจ
– เพิ่มแรงขับทางเพศ
– ปัญหาการนอนหลับ

ผลกระทบจาก PIEDs ขึ้นอยู่กับประเภทของสารที่ใช้ นอกจากนี้ เป๊บไทด์และฮอร์โมนสังเคราะห์หลายประเภทยังอยู่ในขั้นทดลองและไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ จึงยังไม่สามารถระบุความเสี่ยงได้แน่นอน การใช้สเตียรอยด์อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ ดังนี้
– เกิดสิวเพิ่มขึ้น
– ความดันโลหิตสูง
– ตับและหัวใจทำงานหนัก
– เกิดโรคเต้านมโตในผู้ชาย (Gynaecomastia)
– ผมร่วง
– ก้าวร้าว อารมร์แปรปรวนง่าย
– ซึมเศร้า หดหู่
– ต่อมรับรสทำงานแย่ลง
– ตับถูกทำลาย
– มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งไต
– เอ็นอักเสบ สเตียรอยด์หลายประเภทจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ถ้าคุณอยากปลอดภัยก็ต้องไม่ใช้ยาเลย โอเคไหม? แต่ถ้าพูดกันตามจริง หลายคนก็ใช้ยากันอยู่ บางคนใช้แล้วสนุก แต่อีกหลายคนใช้แล้วเกิดปัญหาหลายอย่างทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ หน้าที่ การงาน สภาพการเงิน หรือทั้งหมดที่กล่าวมา หลายคนยังใช้จนถึงขั้นเสพติด ถ้าปล่อยไว้ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้น ถ้าคุณคิดจะใช้ยาหรือสารใดๆ ก็ต้องใช้ให้ปลอดภัย คุณตัดสินใจเองว่าจะนำสารใดเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่ว่าจะเลือกอะไร ก็ต้องแน่ใจว่าจะปลอดภัย และจะส่งผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่นน้อยที่สุด

ถ้าคุุณตัดสินใจใช้ยาโดยวิธีฉีด ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้สะอาด ห้ามใช้เข็มหรืออุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ติดต่อผ่านกระแสเลือด เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซี และเอชไอวี คุณอาจจะมองไม่เห็นเลือดที่ติดอยู่ในเข็มหรือกระบอกฉีดยา แต่จริงๆ มันอาจจะติดอยู่บนผิวหนัง ที่มือ หรือว่าบนโต๊ะก็ได้ ดังนั้นแม้จะไม่เห็นเลือดก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเลือดออก ก่อนฉีดยาจึงต้องล้างมือให้สะอาด ฆ่าเชื้อบริเวณที่จะฉีดเสมอ การฉีดยาและการใช้อุปการณ์การฉีดร่วมกับผู้อื่นอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อ
– เส้นเลือดถูกทำลาย และเกิดรอยแผลเป็นถาวร
– การติดไวรัสตับอักเสบชนิดบี ชนิดซี บาดทะยัก และเอชไอวี
– ลิ่มเลือดอุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาต อวัยวะเสียหาย เส้นเลือดในสมองอุดตัน และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ถ้าคุณใช้เข็มซ้ำ ศึกษาวิธีการทำความสะอาดเข็มได้ที่ [insert testBKK blog on “how to clean a used needle”]

ยังไม่มีข้อสรุปว่าสเตียรอยด์ส่งผลต่อยาต้านเอชไอวีอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ปลอดภัยหายห่วง พึงระวังเสมอเมื่อใช้ยาผสมกัน คุณควรบอกประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์ต่อแพทย์ประจำตัว ถ้าคุณไปที่คลินิกที่ร่วมกับ testBKK ขอรับรองว่าคุณจะไม่ประสบปัญหาใดๆ ในการเปิดเผยข้อมูลนั้น

รู้สึกอารมณ์พลุ่งพล่านจากการใช้สเตียรอยด์หรือเปล่า? ถ้าคุณใช้สเตียรอยด์จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัว ความสามารถในการทำงานหรือเรียน หรือกระทั่งเงินในกระเป๋า นี่อาจถึงเวลาที่จะต้องติดต่อคนที่ช่วยคุณได้แล้ว มีวิธีบำบัดมากมาย และมีหลายองค์กรที่พร้อมให้ความช่วยเหลือแก่คุณและคนรอบข้าง

สเตียรอยด์เสพติดทางใจ ไม่มีผลต่อการเสพติดทางร่างกาย อาการถอนยาจึงเป็นอาการทางใจ ผู้ที่เลิกใช้สเตียรอยด์หลังจากใช้มาเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์

ถ้าคุณกังวลใจเกี่ยวกับการติดยาเสพติดหรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติด อย่าเก็บไว้คนเดียว คุยกับผู้เชี่ยวชาญดีกว่า ไม่ว่าจะโทรเพื่อขอคำปรึกษาด้านจิตใจ ในกรณีที่คุณมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดความเครียด หรือเพียงต้องการหาข้อมูลเบื้องต้นของบริการด้านสุขภาพที่เหมาะกับคุณต่อไป ก็สามารถโทรได้ ฟรี และข้อมูลของคุณจะถูกเก็บเป็นความลับ

ค้นหาสายด่วนให้ข้อมูลและคำปรึกษา 

ศูนย์ลดอันตราย หรือศูนย์ดรอป-อินมีบริการที่ช่วยลดภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาได้ เช่น บริการเข็มฉีดยาสะอาด และถ้าคุณมีเป้าหมายในการลดการใช้ยา ศูนย์ดรอปอินเหล่านี้ก็ช่วยคุณได้ แน่ใจได้เลยว่าคุณจะได้รับบริการในพื้นที่ปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นมิตรและพร้อมสนับสนุนคุณเสมอ

ค้นหาสถานบริการด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด

ถ้าคุณกำลังมองหาบริการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ มีสถานพยาบาลจำนวนมากที่พร้อมสนับสนุนให้คุณบรรลุเป้าหมายในการลด ละ เลิกใช้ยา โดยมีทั้งบริการแบบผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการ การถอนพิษยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการติดตามผล

ค้นหาสถานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

การตรวจเลือดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำอย่างน้อยทุกๆ สามเดือนเป็นเรื่องสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ถ้าคุณไปที่คลินิกที่ร่วมกับ testBKK เราขอรับรองว่าคุณจะไม่ประสบปัญหาใดๆ จากการเปิดเผยประวัติการใช้ยาของตัวเอง และคุณสามารถจองคิวตรวจเลือดล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องรอคิว ได้รับการตรวจที่รวดเร็ว เป็นความลับ และไม่ต้องเปิดเผยตัวตน

จองคิวตรวจกับคลินิกที่ร่วมกับ testBKK

ข้อมูลในเว็บไซต์ TestBKK เป็นเพียงข้อมูลแนะนำทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าต้องการคำแนะนำเรื่องเฮโรอีน คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

MENU

SOCIAL MEDIA