CPR

การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR

ถ้าคุณพบคนหมดสติ อย่าเพิ่งมัวแต่ตกใจหรือร้องไห้ฟูมฟาย คุณต้องตั้งสติแล้วหาทางช่วยเหลือเบื้องต้นและติดต่อขอความช่วยเหลือจากทีมกู้ชีพให้เร็วที่สุด ระลึกไว้เสมอว่า นาทีนี้มีคุณเท่านั้นที่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ อย่ามัวรอช้ารีบเรียนรู้เพื่อช่วยชีวิตคนดีกว่า

การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR : Cardiopulmonary resuscitation) หรือการกู้ชีพ  หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติโดยไม่เกิดความพิการของสมอง

เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัย ก่อนเช้าไปช่วยเหลือ เช่น ระวังอุบัติเหตุ ไฟช็อต หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ

  • หากอาการของคนรอบข้างเปลี่ยนไปให้ปฏิบัติดังนี้
  • สังเกตอาการเบื้องต้น หากมีอาการหน้าซี้ด สีคล้ำแกมน้ำเงิน หรือมีการกรนเกิดขึ้นและเสียงหายใจติดขัด แสดงว่าต้องรีบเข้าช่วยเหลือเร่งด่วน
  • ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง อย่าเขย่าหรือใช้ความรุนแรงในการปลุก หากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง แต่หากยังไม่หายใจ ให้ปฏิบัติดังนี้

  • หลังจากที่พยายามปลุกแล้ว หากยังไม่ได้สติ ให้เปิดปาก (ทางเดินหายใจ) อย่างระมัดระวังเพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวก วางศรีษะให้ราบติดไปกับพื้นและค่อยๆเปิดปากโดยเอามือจับไว้ที่คาง แล้วพยายามสังเกตทางเดินหายใจตามภาพ
  • สังเกต ฟัง และ สัมผัส ให้รู้สึกว่าเขากำลังหายใจอยู่หรือไม่

  • ประเมินผู้ป่วย หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ ให้ทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพทันที และเรียกรถพยาบาลโดยด่วน เบอร์ 1669 และทำ CPR ทันที  พร้อมกับน้ำเครื่องเออีดี (AED) มา(หากมี)

  • อย่างแรกจัดท่าด้วยการกดหน้าอกจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย
  • วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้
  • เริ่มการกดหน้าอก ด้วยความลึกอย่างน้อย 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที (ดู วิธีกดหน้าอก)

  • ทำเหมือนเดิม ปั่มหัวใจ 30 ครั้ง + เป่าลม 2 ครั้ง จนกว่ารถพยาบาลจะมารับ หรือ เค้า/เธอจะฟื้น

 

หากมีเครื่องเออีดี (AED) ให้เปิดเครื่องถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก ติดแผ่นเออีดี (AED) หรือแผ่นนำไฟฟ้า บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย และห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย

ปฏิบัติตามที่เครื่องเออีดีแนะนำ คือ หากเครื่องสั่งให้ช็อกไฟฟ้า ให้กดปุ่มช็อก และทำการกดหน้าอกหลังทำการช็อกทันที แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อก ให้ทำการกดหน้าอกต่อไป

กดหน้าอกต่อเนื่อง ทำ CPR และปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัย

MENU

SOCIAL MEDIA