เสียวทางไกลปลอดภัยโควิด

เสียวทางไกลปลอดภัยโควิด

ศุกร์, กุมภาพันธ์ 5, 2021 – 02:59

ถ้าจะพูดเรื่องนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้วคงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดฝันแน่นอน ใครเว้นระยะห่าง ล้างมือ ใส่แมสก์ ตอนปี 2019 ก็คงคิดว่า “มันป่วย”กันทุกคน ผ่านมา 2 ปี เรื่องนี้ คือ เรื่องปกติ ใครไม่ทำก็โดนมองกันหมด  อีกเรื่องที่เมื่อก่อนมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี และอันตราย คือ “Sex phone” แต่ในช่วงนี้ Sexphone อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตคุณก็ได้ เพราะการติดเชื้อสามารถทำได้จากการอยู่ใกล้ๆกัน ทำให้กิจกรรมเข้าจังหวะเป็นหนึ่งในกิจกรรมต้องห้ามในยุคโควิดไปทันที  หลายคู่เลยแก้ปัญหาโดยการวิดีโอคอลล์กันแก้เหงา ถึงแม้ตัวห่างแต่ไม่รู้สึกห่างเหิน  แต่หลายคู่คงคิดอยู่ในหัวอยู่เหมือนกันว่าที่โทรๆกัน มันปลอดภัยหรือเปล่า มีใครสอดแนมไหม หรือคลิปของเราจะไปหลุดในโลกโซเชียลหรือเปล่า  เรามาดูกันว่าแอปลิเคชั่นที่เราใช้ๆกันอยู่ อันไหนปลอดภัย ไม่ปลอดภัย ควรเปิดฟังก์ชั่นไหนเพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้น เชื่อว่าหลายคนที่วิดีโอคอลล์กันเพื่อ sexphone ทำผ่านมือถือกัน เพราะไหนจะเรื่องท่วงท่า ความสะดวกในการเปลี่ยนที่หรือการส่องมุมต่างๆ การใช้คอมตั้งโต๊ะมาทำก็ไม่ค่อยมีใครทำกันแล้ว นอกจากจะเอาไว้ใช้ conference call หรือเรียนออนไลน์ เพราะฉะนั้นแอดมินจะเขียนทิปและแอพลิเคชั่นแนะนำเฉพาะมือถือล่ะกัน


อย่างแรกเลยล่ะกัน เช็คให้ดีว่า คนที่คุยด้วยไว้ใจได้หรือไม่ คบกันมานานยัง  เคยเจอตัวจริงกันหรือยัง เขาปลอมตัวเป็นคนอื่นหรือเปล่า ใส่รูป Profileเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเองหรือเปล่า และเขาอัดวิดีโอระหว่างที่เราคอลล์หรือเปล่า ส่วนใหญ่ที่มักมีคลิปหลุดกันได้ก็หนีไม่พ้นคู่บทสนทนานี่แหละ ไม่ใช่คนอื่นแฮ็คมาดูระหว่างที่เราคอลล์กัน ซึ่งแบบหลังจะทำได้ยากกว่าพอสมควร หากเรามั่นใจแล้วว่าคู่บทสนทนาไม่มีพิษภัยแล้วไปดูข้อต่อไปได้เลย


2.ไปเช็คในSetting หรือการตั้งค่าในแต่ล่ะแอปเลย พวกตั้งค่าความเป็นส่วนตัว อันไหนที่อนุญาตให้สิทธิ์มากไปก็ติ๊กออกไปได้เลย อย่างเช่น “การแชร์ข้อมูลเพื่อทำให้ประสบการณ์ดีขึ้น” ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะให้ข้อมูลของเรากับบริษัทโฆษณาหรือบริษัท data ต่างๆเพื่อยิงโฆษณาใส่เรา หรือการตั้งค่าที่อนุญาตให้เพื่อนเราหรือคนอื่นหาเรา แอดเราโดยที่เราไม่รู้จักมาก่อน พวกนี้จะป้องกันคนที่สวมรอยคนที่เรารู้จักแล้วทำมาเป็นคุยกับเราได้  พอเช็คในแต่ล่ะแอปเสร็จ ก็ให้ไปเช็คที่การตั้งค่าหรือSettingของเครื่อง แล้วไปดูว่าแต่ล่ะแอปมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลเราได้มากแค่ไหน โลเคชั่น รูปภาพ กล้อง ไมโครโฟน (สองอย่างนี้ต้องเปิดไว้ให้แอพที่เราจะทำการวิดีโอคอลล์นะ ไม่งั้นคอลล์กันไม่ได้) ถ้าโอเคแล้วไปข้อต่อไปได้เลย


3. ตั้งpasswordกับทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลในแอปได้ ซึ่งบางทีอาจจะมีข้อมูลในแอปที่บอกใบ้passwordของเราได้ เพราะฉะนั้นปลอดภัยไว้ก่อน


4. อุตส่าห์ทำมาซะขนาดนี้ นึกว่าจะรอดซะแล้ว แต่อะไรง่ายๆ ซิมเปิ้ลๆ อย่างหน้าเราที่เป็นหลักฐานง่ายดายก็ทำให้ใครๆจำเราก็ได้ เพียงแค่เราใส่หน้ากาก หรืออำพรางหน้า หรือถ่ายไม่ให้เห็นหน้าเลยก็ช่วยมากแล้ว  และอีกอย่าง คือ ห้องเรา แบ็คกราวนด์เรากลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้คนอื่นรู้ว่าเราอยู่ที่ไหนได้  เดี๋ยวนี้นักสืบโคนันสามารถรู้ว่าเราอยู่ที่ไหนได้ จากแค่สิ่งของในห้องเราได้ ถ้าใครมีNetflix แนะนำให้ดูเรื่อง Don’t F&*k with the cats เป็นสารคดีเชิงหนังที่นักสืบโคนันในเน็ตตามล่าฆาตกรแมวจากinternet trail ที่ฆาตกรได้สร้าง อย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่นที่ฆาตกรใช้ฆ่าแมวก็รู้ได้ว่าอยู่ในประเทศแคนาดาและจำหน่ายช่วงปีไหนถึงปีไหน ทำให้บอกได้ว่าน่าจะเป็นคนช่วงยุคไหนและอยู่ในแคนาดา เพราะฉะนั้นให้เราคอลล์ในที่ที่แบ็คกราวด์โล่งๆ เห็นของน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหากกลัวจะมีคนเอาได้ไปแล้วจริงๆ ก็ใส่หน้ากากอำพรางหน้าตัวเองจะดีขึ้น


5. มาถึงตรงนี้แล้ว ก็ถึงจุดที่เราไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้วนอกจากเลือก จากแอปที่เราใช้กันอยู่  ไม่ทุกแอปที่จะปลอดภัยเสมอไป มาดูกันว่าแอปไหนที่มีระบบป้องกันดีที่สุด1. Signal – แอปที่ใครๆก็พูดถึง แม้กระทั่ง Elon Musk ก็แนะนำให้ใช้ เพราะนอกจากสภายุโรปแนะนำให้ใช้แล้ว ตัวแอปมีการซ่อนmetadataให้ด้วย (Metadata คือ ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล อาทิเช่น เวลาที่ถ่ายภาพ เครื่องรุ่นอะไร ส่งจากที่ไหน ซึ่งมักจะติดกับรูปภาพ วิดีโอ ข้อความ) บวกกับการเข้ารหัส End-to-End Encryption แปลว่า จะใส่รหัสทั้งข้อความ เสียง วิดีโอคอลล์ เฉพาะแค่ฝั่งเรากับฝั่งเขาเท่านั้นที่จะเห็นได้ คนที่จะมาแฮ็คเข้าตรงกลางเพื่อดูคอลล์จะไม่สามารถดูได้ เพราะรหัสกุญแจนี้จะอยู่แค่เฉพาะของทั้งสองเครื่องเท่านั้น ยิ่งทำให้ข้อความ ภาพ โลเคชั่น หรือ วิดีโอคอลล์ ปลอดภัย และที่สำคัญเป็นแอพลิเคชั่นopen-source ที่ทำโดยองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำให้ปลอดภัยจากการคิดหากำไรจากข้อมูลส่วนตัวเรา แบบแอปอื่นๆด้วย 2. LINE – แอปที่เราคุ้นเคยและใช้มันอยู่ทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะใช้ง่ายและใครๆก็มีแล้ว ยังปลอดภัยด้วย เพราะว่า LINE ใช้ End-to-End Encryption ซึ่ง LINE เรียกการเข้ารหัสของตัวเองนี้ว่า “Letter Sealing” โดยปกติ LINE จะเปิดอัตโนมัติให้อยู่แล้ว แต่หากเราอยากเช็คให้ชัวร์ๆ ก็สามารถเข้าไปตรง 3 ขีดตรงด้านขวามือบนของคู่สนทนาเราได้ แล้วดูข้างล่างสุด หากเขียนว่า”This chat is protected with Letter Sealing”แล้ว ก็แปลว่า ได้เข้ารหัสเรียบร้อย ปลอดภัยหายห่วงได้ แต่หากบอกว่า ไม่ protected with Letter Sealing ก็ให้ไปที่Setting แล้วเข้า Privacyแล้วไปกดปุ่ม Letter Sealing แอดมินแนะนำให้เปิดทิ้งตลอดไว้เลยนะ เพราะนอกจากกรณีวิดีโอคอลล์แล้ว กรณีแชททั่วไปก็ควรได้รับการป้องกันด้วย3. Facetime – คงไม่ต้องพูดถึงว่า Apple โฆษณาหนักแค่ไหนในเรื่องความเป็นส่วนตัว เรียกได้ว่าเป็นจุดขายของเขาในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ ถึงขั้นไม่ยอม FBI ในการให้รหัสเข้า iPhone 5C ของผู้ก่อการร้ายจนเป็นข่าวใหญ่โตเลยทีเดียว  ในแอป facetime ได้เข้ารหัส End-to-End Encryption ที่มีแค่เฉพาะตัวคุณกับปลายทางที่จะเห็นข้อความหรือวิดีโอ คอลล์ได้ และเนื่องจาก apple เป็นบริษัทที่เน้นการขายของ ไม่ใช่โฆษณา แบบ Google หรือ Facebook ทำให้พวกเขาไม่มีความสนใจใดๆในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา และอย่างที่บอกตอนแรก Apple ได้นำเข้าเป็นนโยบายหลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของพวกเขาด้วย4. Whatsapp – แอปที่ใครหลายๆคนน่าจะมีหากมีเพื่อนฝรั่งหรือเก็บไว้ในยุคช่วงที่ตลาดแอปแชทกำลังเติบโตแล้วทุกคนกำลังลองทุกแอปอยู่ เป็นหนึ่งในแอปแรกๆที่ใช้End-to-End Encryption และว่ากันว่า protocol ที่ใช้ในการ encrypt (Open Whisper Signal Protocol) เป็นหนึ่งวิธีในการเข้ารหัสที่ดีที่สุดในโลกด้วย แต่พักหลังๆ Facebook ที่เป็นเจ้าของแอปเริ่มทำการแชร์ข้อมูลบางส่วน (ไม่ใช่ข้อความแชทหรือคอลล์นะ) เพื่อทำการยิงโฆษณาเวลาเข้าเฟซหรือไอจี เลยให้อันดับหลังๆ5. Telegram – หนึ่งในแอปดังที่ใครๆก็โหลดไว้ตอนช่วงประท้วงเพราะกลัวการสอดแนมจากรัฐบาล หารู้ไม่ว่าความจริงแล้วแชทจะปลอดภัยเมื่อเราเปลี่ยนเป็นโหมด “Secret Chats” เท่านั้น และการเข้า End-to-End Encryption ที่ทางแอปได้ใช้ (MTProto Protocol) ยังเป็นที่น่ากังหาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์อยู่ด้วย และยิ่งหากไม่ได้ใช้โหมด “Secret Chats” ทางTelegram แค่เข้ารหัสแค่เฉพาะในระดับ transport เท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น ไม่ได้เก็บกุญแจการเข้ารหัสในเครื่องปลายทาง แต่บนServerของTelegram ด้วย แปลว่า อาจมีโอกาสที่แฮ็คเกอร์เอากุญแจการเข้ารหัสข้อความของเราไปอ่านข้อความของเราได้  ซึ่งปลอดภัยน้อยกว่าแอปทั้งหมดที่บอกไปก่อนหน้านี้6. Facebook Messenger – ถึงแม้ว่าพักหลังๆ Facebook จะได้รับการเพ่งเล่งอย่างหนักจากการโดนเรื่องการแชร์ข้อมูลให้บริษัทอื่นเพื่อใช้ในการโฆษณา แต่ Facebook ก็ได้เพิ่มฟีเจอร์ “Secret Conversations” คล้ายๆ Telegram และใช้การเข้ารหัสแบบ Open Whisper Systems Signal Protocol เช่นกัน ซึ่งค่อนข้างปลอดภัยมาก แต่เราต้องเปิดโหมดนี้เองทุกครั้ง7. Instagram – เป็นหนึ่งในแอพที่ไว้ใช้ดูรูป และเอารูปลง และมีบางครั้งที่ทักไปหาคนที่เราฟอลโลวว่าที่ถ่ายมาสวยดีนะ หรือไปที่ไหนมา แต่คงไม่ได้ใช้เป็นแอพคุยเป็นหลัก หรือแม้กระทั่งวิดีโอคอลล์กัน และเป็นเรื่องที่ดีด้วยที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะว่าการเข้ารหัสของแอพนี้อยู่แค่ในระดับ transport และทาง Facebook เองก็ไม่ได้มีแนวคิดที่อยากจะเน้นฟีเจอร์ตรงนี้สักเท่าไหร่ ทำให้การเข้ารหัสแบบ End-to-End Encryption ยังมาไม่ถึง แอดมินขอไม่แนะนำให้คอลล์กันผ่านแอพนี้นะ8. Zoom – หนึ่งในแอพการประชุมที่หลายโรงเรียน หลายบริษัท หลายองค์กรใช้กันแพร่หลายหลังจากโควิดระบาด แต่ความง่ายของการใช้แอพก็เต็มไปด้วยปัญหาด้านความปลอดภัย ไม่ว่าจะ Zoom bombing ที่มีคนเดา meeting ID แล้วเข้าการประชุมโดยไม่ได้รับการเชิญ หรือ การไม่เข้ารหัสแบบ End-to-End Encryption ทำให้เป็นหนึ่งในแอพที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่เราสามารถทำให้ปลอดภัยขึ้นได้จากการที่เราเข้าเว็บไซต์ Zoom (ไม่ใช่ในแอพมือถือ หรือแอพบนคอมนะ ต้องบน browser เท่านั้น) แล้วเข้า Setting > Meeting tab ภายใต้หัวข้อ Security จะมีข้อนึงที่เขียนว่า Allow use of end-to-end encryption ให้เราคลิกเปิด แล้วทาง Zoom จะให้เราส่งโค้ด OTP มาทางเบอร์เราเพื่อยืนยัน แล้วถึงจะใช้งานได้ ให้ทำทั้งสองฝั่งเพื่อให้ปลอดภัยทั้งคู่ ถึงค่อยมั่นใจว่าจะไม่โดนแฮ็คผ่าน Zoom ได้  กว่าจะมั่นใจได้ก็มีขั้นตอนอยู่เนอะอ่านมาไกลขนาดนี้แล้ว ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของโปรแกรมแชทไปเลย แต่ก็เพื่อความสบายใจของเราๆ และเป็นการปกป้องตัวเองและคนที่คุณรัก


by Kasintorn Honglawan

ข้อมูลจาก: www.engadget.com/how-to-secure-your-video-calls-like-a-pro-190046885.html | electrons.co/video-calls-safe-or-not/ | iol.co.za/technology/mobile/top-5-most-secure-video-calling-apps-47892997

รูปภาพจาก: signal.org/en | whatsapp.com | line.me/en | telegram.org | support.apple.com | messenger.com | instagram.com | zoom.us

แชร์สิ่งนี้
Facebook
Twitter
VK
บทความอื่น ๆ

MENU

SOCIAL MEDIA