หยุดรวมการจ่ายยา PrEP,PEP เพื่อป้องกันHIV ไว้ที่รัฐ อนุทินต้องกระจายจุดจ่ายยาให้ประชาสังคม

Play Video

หยุดรวมการจ่ายยา PrEP,PEP เพื่อป้องกันHIV ไว้ที่รัฐ อนุทินต้องกระจายจุดจ่ายยาให้ประชาสังคม

#PrEPต้องเข้าถึงได้ #อย่าหยุดจ่ายPrEP #testBKK

ร่วมลงชื่อเป็นหนึ่งเสียงในการเข้าถึง PrEP กับแคมเปญ

#PrEPต้องเข้าถึงได้#อย่าหยุดจ่ายPrEP#testBKK

.

สามารถร่วมลงชื่อได้ที่ลิงค์

https://chng.it/LdZJtkWnw6

.
testBKK(ดำเนินการโดย APCOM) ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย(RSAT), มูลนิธิเพื่อพนักงานบริการ (SWING), มูลนิธิเอ็มพลัส(MPLUS), มูลนิธิแคร์แมท, สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) และองค์กรภาคประชาสังคมทั่วประเทศไทย

testBKK เป็นการรณรงค์ออนไลน์ด้วยเรื่องสุขภาวะทางเพศ และความตระหนักรู้ปัญหาของ HIV ในประเทศไทย และสนับสนุนให้ผู้คนเข้าถึงการความรู้ การป้องกัน การรักษา ที่ง่ายและเป็นมิตรต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ผู้ใช้สาร พนักงานบริการ และเยาวชน

สืบเนื่องจากประกาศของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข ไม่อนุญาตให้หน่วยบริการที่ใช่ใช่สถานพยาบาลจ่ายยา เพร็พ PrEP (ยาเพื่อป้องกันHIVก่อนสัมผัสเชื้อ) และเป็บ PEP(ยาสำหรับหลังสัมผัสเชื้อใน 72 ชม.) โดยให้ผู้ใช้บริการต้องไปรับบริการจากสถานบริการของรัฐตามสิทธิ์ที่ตนมี 

เราต้องการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข คงระบบเดิมในการให้คลินิกและองค์กรภาคประชาสังคมทำการแจกจ่าย PrEP และ PEP รวมถึงอุดหนุนงบประมาณเพื่อสร้างการเข้าถึงบริการต่างๆ ให้เข้าถึงง่ายแก่ประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อ HIV และเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

ความกังวลใจของภาคประชาชนต่อปัญหานี้ จากสังคมออนไลน์ได้ตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการให้บริการของรัฐต่อการป้องกัน HIV และเอดส์ อย่างมากโดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

  1. การให้บริการ พบว่าการให้การบริการของรัฐใช้เวลาที่นานกว่า ในการรอคิว และขั้นตอนในการเข้ารับบริการก็มีหลายขั้นตอน ในการเข้าใจบริการ อาจจะใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง หรืออาจจะเป็นครึ่งวัน ทำให้เสียเวลาในการทำงาน หรือลางานเพื่อไปรับยา ต่างจากคลินิกภาคประชาสังคมที่สามารถจองบริการล่วงหน้า และเข้ารับบริการได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
  2. การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ผู้คนก็ยังคงกังวลใจเมื่อเข้าไปรับบริการ จะเจอการบริการ ที่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้รับยาว่าเป็นกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ  ซึ่งในความเป็นจริง ผู้ที่รับยา PrEP หรือ PEP ก็ไม่ได้จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ หรือมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เพียงรับยาเพื่อป้องกันโอกาสในการรับเชื้อ HIV เท่านั้น
  3. ข้อมูลส่วนตัว ในการเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐ อาจมีการต้องใช้บัตรประชาชนและข้อมูลส่วนตัวในการรับบริการ ซึ่งผู้ใช้บริการ ก็กังวลในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของรัฐ ด้วยเช่นกัน

ด้วยข้อกังวลใจและปัญหาเบื้องต้น เราจึงเรียกร้อง ให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาและทบทวน การกระจายบริการในการจ่ายยา PrEP และ PEP ให้คงรูปแบบเดิมที่ภาคประชาสังคมยังสามารถดำเนินการได้ พร้อมส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมได้เพิ่มหน่วยบริการขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ และลดอัตราการส่งต่อเชื้อจนบรรลุเป้าหมายในการยุติเอดส์ได้ในปี 2030 

อ้างอิงจาก
1. มติบอร์ด สปสช.ให้ชะลองบสร้างเสริมสุขภาพฯ เฉพาะผู้ที่ไม่ใช่สิทธิบัตรทอง

“ประกาศกองทุนฯ สปสช. ปี 2566 ตามที่ท่าน รมต.สธ.ลมนาม ส่งผลให้งานด้านการป้องกันเอชไอวีของประเทศ จำกัดการให้บริการเฉพาะผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทองและ ส่งผลกระทบต่อนโยบายที่เกี่ยวกับงานด้านการป้องกันทั้งหมดของประเทศ”

2. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องหลักการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีนโยบาลและกฏหมายที่ไม่เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณะสุขอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

3. หนังสือชี้แจงแนวทางแนวทางการจัดบริการ PrEP ของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้องค์กรชุมชนไม่สามารถให้บริการด้านการป้องกัน PrEP PEP แก่ผู้รับบริการได้ เนื่องจากขัดกับ พรบ.สถานพยาบาล

ข้อมูลเกี่ยวกับ PrEP และ PEP
https://www.testbkk.org/safesex/

MENU

SOCIAL MEDIA