อังคาร, มิถุนายน 29, 2021 – 22:35
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง “ชื่อของเพศ” ซึ่งมีเยอะมาก! ดูได้จากตัวย่อ LGBTQIA และยังมี + อีก แต่วันนี้เราจะยกเพศที่เป็นที่รู้จักมาคุยความหมายกัน รวมถึงคำเรียกชื่อเพศที่อาจจะซ้ำ ๆ งง ๆ ว่าเอ๊ะ มันต่างกันยังไง แต่เชื่อสิว่ามันมีการตั้งชื่อเหล่านี้ขึ้นมาเพราะมันมีคนบางกลุ่มที่ต้องการคำจำกัดความให้กับเพศของตัวเองที่ตรงกับความเป็นจริงของเขาจริง ๆ เรามาดูพร้อม ๆ กันเลยครับ
ภาพจาก cdc.gov/lgbthealth/transgender.htm
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
เริ่มจาก LGBTQIA+ เรียงตามลำดับ
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Lesbian (เลสเบี้ยน)
คนไทยอาจจะเคยชินคำว่า “ทอม” กับ “ดี้” แต่นั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของคำว่า “เลสเบี้ยน” เอาจริง ๆ ในภาษาอังกฤษ ถ้าผู้หญิงคนไหนบอกว่าตัวเองเป็นเกย์ นั่นหมายความว่าเธอเป็นเลสเบี้ยนนั่นเอง คือเป็นผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน ไม่จำกัดว่าใครเป็นรุกเป็นรับ ใครเล่นบทผู้ชายหรือเล่นบทผู้หญิง แต่ก็แค่ผู้หญิงสองคน (หรือมากกว่านั้น) รักกัน สำหรับใครที่ติดตามบันเทิงต่างประเทศน่าจะรู้จัก เอลเลน ดีเจนเนอริส หรือพิธีกรรายการ The Ellen Show ที่เรียกตัวเองว่าเป็นเลสเบี้ยน แต่งงานกับผู้หญิงกับผู้หญิง แต่งตัวชุดผู้ชายเป็นส่วนมาก แต่ไม่ได้แปลงเพศ
ภาพจาก www.rd.com/list/lgbtq-flags
Gay (เกย์)
เกย์ คือผู้ชายที่ชอบผู้ชาย เชื่อว่าเมื่อพูดถึงเกย์หลายๆคนก็คงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแล้ว ในสังคมไทยอาจจะคุ้นเคยกับการใส่บทบาท เช่น คนนี้เป็นรุก คนนี้เป็นรับ แต่อันนั้นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพราะสมัยนี้บางคนก็สามารถสลับสับเปลี่ยนไปได้ทั้งสองบทบาท (หรือที่บางคนเรียกว่าโบธ) ประเด็นหลัก ๆ คือ ผู้ชายสองคน (หรือมากกว่านั้น!) รู้สึกดีต่อกันและกัน ขออนุญาติไม่ยกตัวอย่างบุคคล เพราะในเพจและเว็บไซท์ TestBKK มีตัวอย่างให้ดูเยอะมาก! ลองไปคลิกดูสิ www.testbkk.org/th/news
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Bisexual (ไบเซ็กชัวล์)
ไบ หรือไบเซ็กชวล ที่มีรากศัพท์ที่แปลว่า 2 (เช่น bilingual = คนที่พูด 2 ภาษา) นั้นก็อาจทำให้เราพอจะเดาความหมายกันได้ นั่นคือ ผู้ที่ชอบทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เช่น เพศสภาพเป็นผู้หญิง ลองคบผู้ชายดู ก็สามารถมีเซ็กซ์กันได้ไม่มีปัญหา แต่ในใจรู้สึกว่าเวลาอยู่กับผู้หญิงก็รู้สึกดี พอลองมีแฟนเป็นผู้หญิงก็รู้สึกดี และมีเซ็กซ์กันได้แบบไม่รู้สึกรังเกียจ เช่น สาวคริสเตน สจ๊วต นางเอกหนังภาคต่อแวมไพร์ ทไวไลท์ ที่ถึงไม่ได้ออกมาประกาศตัวก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเธอเป็น Bisexual จากการที่เธอคบทั้งผู้ชายและผู้หญิงออกสื่อแบบไม่ปิดบังอะไร อยากรู้เรื่องบรรดาแฟนของคริสเตนเพิ่มเติม ลองไปฟังได้ใน Youtube ช่อง Eve KK youtu.be/IeSxkSYlreo ส่วนตัวคริสเตนเองนั้นไม่มีอินสตาแกรม แต่ลองไปดูในอินสตาแกรมแฟนคลับได้
รูปจาก pointofpride.org
Transgender (ทรานส์เจนเดอร์)
ทรานส์ ที่เป็นคำที่ชอบไปจับคู่กับคำอื่น แปลว่า ถ่ายโอน แปลง ข้าม เช่น translation = การแปลภาษา, transportation = การขนส่ง และในที่นี้คือ transgender = ข้ามเพศ ใช้เรียกผู้ที่มีเพศสภาพเป็นชายหรือหญิงที่ค้นพบว่าชีวิตจิตใจของตนไม่ตรงกับเพศสภาพ และได้ทำการเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ตรงกับตัวตนที่เป็น เช่น Trans woman คือ เปลี่ยนเพศสภาพจากชายมาเป็นหญิง (ที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี) หรือ Trans man คือเปลี่ยนเพศสภาพจากหญิงมาเป็นชาย ทรานส์เจนเดอร์คนไทยน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแล้ว เช่น คุณปอย ตรีชฎา หรือ คุณโม จิรัชยา สำหรับผู้ชายข้ามเพศในเมืองไทยอาจจะยังไม่มีคนที่มีชื่อเสียงมากนัก แต่ไม่ใช่ไม่มี เช่น คุณจิ๊บ ญาณิชา หรือ คุณแซม รณกฤต แฟนหนุ่มของสาวข้ามเพศคนดัง คุณนก ยลดา
ภาพจาก instagram.com/nokyollada
Queer (Questioning) (เควียร์)
เป็นระบุเพศที่กว้างมากจริง ๆ เพราะหมายถึงเพศที่ยังสงสัยว่าตัวเองเป็นเพศอะไรกันแน่ อันนี้ไม่นับเรื่องว่าเกิดมาในร่างของเพศไหน แต่พูดถึงชอบความชอบ เช่น เกิดมาในร่างผู้ชาย และมีแฟนผู้หญิง แต่ก็รู้สึกว่าผู้ชายดูเซ็กซี่น่ารัก อยากเข้าไปคุยด้วย ทำให้คำว่าว่า Queer (เควียร์) นี้มีความใกล้เคียงกับเกย์, ไบเซ็กชัวล์ และทรานส์ (ข้ามเพศ) เป็นอย่างมาก ต่างตรงที่ เขาไม่แน่ใจว่าเขาชอบอะไรมากกว่ากัน (ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเลือกก็ได้นะเอาจริง ๆ) ในขณะที่เพศที่กล่าวมาข้างต้นได้เลือกแล้ว
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Intersex (อินเทอร์เซ็กซ์)
เป็นผู้ที่เกิดมากับร่างกายที่มี 2 เพศ หมายความว่า มีอวัยวะเพศของทั้งเพศหญิงและเพศชาย เนื่องจากการจับคู่โครโมโซมที่ผิดแผกไปจาก XY หรือ XX (ตามภาพประกอบ) โดยคนที่เป็น intersex จะเป็นคนเลือกเองว่าตัวเองสบายใจกับการเป็นเพศไหน แต่บางครั้งพ่อแม่ของเด็กที่เกิดมามี 2 เพศ จะทำการเลือกเพศให้ลูกและให้หมอทำศัลยกรรมเอาอวัยวะที่พ่อแม่ไม่ได้เลือกออกเพื่อให้ลูกใช้ชีวิตในวิถีชายจริงหญิงแท้ ภาพประกอบทางการแพทย์อาจจะดูน่ากลัวสักเล็กน้อย แต่ภายนอกคนที่เป็น Intersex จะมีร่างกายเป็นชายหรือหญิงตามปกติ
รูปจาก srishtimadurai.blogspot.com
ภาพจากงาน Third International Intersex Forum ปี 2013 จาก Wikipedia
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Asexual (เอะเซ็กชัวล์)
ที่ผู้ที่ไม่ได้ฝักใฝ่เรื่องเพศ คือ ชอบคน ชอบแฮงเอ้าท์ แต่ไม่ได้อยากมีเซ็กซ์ด้วย โดยมากคืออาจจะลองมีเซ็กซ์มาแล้วและค้นพบว่า เซ็กซ์ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต หรือในชีวิตคู่ โดยคนที่เป็น Asexual จะมีแฟน และจะใช้ชีวิตด้วยกันดูแลกัน อาจจะนอน cuddle กอดจูบลูบไล้กันพอให้ชื่นใจ แต่ไม่ได้อยากไปไกลถึงเซ็กซ์แบบสอดใส่ หรืออาจจะมีแต่นาน ๆ ที คนดังที่ไทยที่ออกมาให้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศและบอกว่าตัวเองเป็น Asexual นั่นคือคุณเขื่อน ภัทรดนัย หรือ เขื่อน เคโอติก ลองไปอ่านบทสัมภาษณ์ใน a day คุณเขื่อนเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นได้ตามลิ้งค์นี้ครับ adaymagazine.com/koen-pattaradanai
อินสตาแกรมคุณเขื่อน www.instagram.com/koendanai
ภาพจาก instagram.com/koendanai
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Demisexual (เดมี่เซ็กชัวล์)
คือคำที่ใช้อธิบายคนไม่ว่าจะเพศไหนก็ตาม ที่จะมีอารมณ์ทางเพศต่อเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีการพูดคุย มีความผูกพันธ์กันทางอารมณ์ความรู้สึก ไม่งั้นก็ไม่รู้สึกมีอารมณ์ทางเพศ เพราะฉะนั้น one night stand อาจจะไม่เหมาะกับคนกลุ่มนี้ (ใช้คำว่าอาจจะนะ) จะว่าไปกลุ่มนี้มีความใกล้เคียงกับ Asexual เหมือนกันนะ
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Ally (แอลาย)
คือเพศตรง ชายจริงหญิงแท้ ผู้หญิงชอบผู้ชาย หรือผู้ชายชอบผู้หญิง และมีความเข้าใจและสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ของกลุ่ม LGBTQIA+ ซึ่งจะเป็นคนละกลุ่มกับคนที่ต่อต้านหรือไม่สนับสนุน เช่น คนที่มีอาการ Homophobia (โฮโมโฟเบีย) คือเกลียดกลัวคนที่รักเพศเดียวกัน มีการพูดถึง Ally เรื่อย ๆ ในหนังที่พูดเรื่องความหลากหลายทางเพศ เช่น Pose ตัวอย่าง Ally ในวงการบันเทิงที่เห็นได้ชัดเจนคนนึงคือ Lady Gaga และเพลง Born This Way ของเธอ ที่เป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจให้คนเห็นคุณค่าของตัวเอง อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความของ The People thepeople.co/lady-gaga-stan-with-lgbtq-stonewall-ny
———
ส่วนชื่อเรียกต่อไปนี้ จะมีความหมายทับซ้อนกันเยอะพอสมควร ลองอ่านดูแล้วบอกเราทีว่างงไม่งง
Trans* (ทรานส์)
เป็นคำสั้น ๆ ที่เอาไว้เรียกรวม ๆ สำหรับเพศที่ไม่ใช่เพศตรง ไม่ว่าจะเป็นหญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศ เควียร์ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่เพศตรง เราสามารถใช้คำนี้ได้ เพราะในบางกรณีเราไม่จำเป็นต้องไประบุว่าเขาเป็นอะไร เพราะการที่เป็นเพศอะไรคนเราก็สามารถประกอบกิจการงานที่ตนจะทำได้อยู่แล้ว อันนี้ยกเว้นไว้ว่าออฟฟิสบางแห่งอาจจะยังไม่เปิดกว้าง เช่น แต่งหญิงมาทำงานไม่ได้
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Pansexual (แพนเซ็กชัวล์)
แพนเซ็กชวล คือชอบทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพไหนด้วย มีความรู้สึกชอบโดยไม่จำกัดได ๆ ถ้าเปรียบเทียบกับไบเซ็กชวลในเรื่องของความชอบ คนที่เป็นไบอาจจะชอบไม่สีดำก็สีแดงไปเลย แต่แพนเซ็กชวลคือชอบหมดเลยทุกสี ไม่ว่าจะดำ จะเทา จะแดง จะม่วงอมแดง อะไรก็ตาม ยิ่งกว่าสีธง Pride
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Non-binary (นอนไบนารี่)
มีความใกล้เคียงกับเควียร์มาก ๆ คือไบนารีแปลว่า สองเพศชัดเจน ชายจริงหญิงแท้ นอน(=ไม่มี)ไบนารี(หญิงชาย) จึงแปลว่า อะไรก็ได้ที่ออกมาจากกรอบนั้น คือฉันจะเป็นเพศอะไรก็ได้ที่ไม่โดนแปะป้ายว่าชายจริงหญิงแท้ ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายที่เกิดมาผิดร่าง เขาก็ยังรู้สึกปกติกับร่างกายของตน บางคนอาจจะค้นหาตัวเองได้หลังจากใช้ชีวิตไปพักนึงและเลือกว่า ชั้นจะเป็นไบนี่แหละ หรืออาจจะสลับรสนิยมไปมาตามคนที่อยู่รอบตัวในขณะนั้น ไม่ใช่ทุกคนอยากจะฟังเพลงป็อปจ๋า บริทนีย์ สเปียร์ตลอดเวลา บางทีก็อยากจะสลับไปฟังร็อคบ้าง หรือฮิปฮอปบ้าง จริงมั้ยล่ะ
ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บประชาไท
prachatai.com/journal/2018/01/74982
Gender non conforming (เจนเดอร์ นอน คอนเฟิร์มมิ่ง)
บางคนก็ใช้คำว่า “เพศที่สาม” ในความหมายเดียวกับคำนี้ ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นเพศอะไร เป็นหมวดเดียวกับนอนไบนารีและเควียร์
ภาพจาก www.colorado.edu/lgbtq
สำหรับคนที่ต้องอ่านเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถีเป็นภาษาอังกฤษ (หรือไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็ตาม) เรามีคำแปลของศัพท์ทางเทคนิคและตัวย่อต่าง ๆ ของคำระบุเพศที่เราได้กล่าวมาข้างบนนี้ แต่อาจจะมีแตกต่างบ้างเล็กน้อย เช่น ขยายความจากเลสเบี้ยนมาเป็น F2M มาช่วยทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น! เช่นทำที่ TestBKK ใช่บ่อยมาก ๆ คือ MSM อยากรู้ว่าแปลว่าอะไรลองเลื่อนไปดูคำแปลได้เลยครับ
รูปจาก www.marieclaire.com/culture
Sexual fluidity (เซ็กชัวล์ ฟลูอิดิตี้)
ความลื่นไหลทางเพศวิถี หมายความว่า ความชอบและการปฏิบัติตนในการแสดงว่าเป็นเพศใดนั้นสลับสับเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ ลื่นไหลดุจสายน้ำ โดยไม่จำเป็นต้องหมายถึงเรื่องเซ็กซ์เสมอไป เช่น คุณมาร์ค ไบรอัน เป็นสามีและคุณพ่อลูก 3 ที่ชอบใส่กระโปรงหรือชุดเดรสกับรองเท้าส้นสูงไปทำงานเป็นประจำ ไปส่อง Instagram คุณมาร์คดูได้ www.instagram.com/markbryan911
Sexual orientation (เซ็กชัวล์ ออเรียนเทชั่น)
เพศวิถี / รสนิยมทางเพศ คือ เพศที่เป็นตัวตนที่เจ้าตัวเลือกเอง ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับเพศสภาพ
Gender identity (เจนเดอร์ ไอเดนติตี้)
เพศสภาพ เกิดมามีอวัยวะเพศแบบไหน หรือถ้าแบบไทย ๆ ก็คือ เพศตามคำนำหน้านามในบัตรประชาชน
FtM/F2M
แปลว่า Female to male หรือ ผู้ชายข้ามเพศ เป็นเพศหญิงแต่กำเนิดแต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาย
ถ้าพูดถึง ผู้ชายข้ามเพศที่โด่งดังที่สุด ณ ตอนนี้ คือ Elliot Page ซึ่งเขาได้เปลี่ยนมาได้เพิ่งปีนี้นี่เอง เพราะก่อนหน้านั้นเราอาจจะรู้จักเขาในนาม Ellen Page ที่แสดงในเรื่องดังหลายเรื่องอย่าง Juno หรือ Inception
www.macleans.ca/society/elliot-page-is-a-happy-guy-thats-the-important-thing/
GSM – ไม่ใช่ GSM Advance นะ (มุขแก่มาก รู้อายุแอดมินเลย) มันย่อมาจาก Gender and sexual minority ที่แปลว่า ครอบคลุมกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนที่เรียกตัวเองตามเพศกำเนิดทั้งหมด
MSM – ย่อมาจาก Men who have sex with men ซึ่งแปลว่า ชายรักชาย จะต่างจากเกย์ตรงที่ ลักษณะการแสดงตัวตนจะไม่ใช่เกย์ แต่เป็นแสดงตนเป็นชายแท้ แต่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
ในโลกมายาก็มีดาราดังหลายคนที่come outออกมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากกฎหมายที่อเมริกาได้อนุญาตให้แต่งงานได้ หากจะพูดถึงดารา MSM หรือ WSW คงพูดได้ไม่หวาดไม่ไหว แต่เรามีลิ้งค์ให้ไปดูได้ ทาง LA Times ได้รวบรวม celebrity ดังในโลกตะวันตกให้
WSW – ย่อมาจาก Women who have sex with women ซึ่งแปลว่า หญิงรักหญิง นิยามก็เหมือน MSM แต่เป็นผู้หญิงแทน คือ ผู้หญิงที่ลักษณะการแสดงตัวตนเป็นผู้หญิงไม่ใช่เลสเบี้ยน แต่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง
MtF/M2F – แปลว่า Male to female หรือ ผู้หญิงข้ามเพศ เป็นเพศชายแต่กำเนิดแต่เรียกตัวเองเป็นหญิง
หากพูดถึงผู้หญิงข้ามเพศที่โด่ง คงมีหลายคนที่นึกขึ้นได้ อย่างในต่างประเทศก็ Conchita Wurst ที่ชนะ Eurovision 2018 ทางmarie claire ได้list ผู้หญิงข้ามเพศที่เป็นcelebrity โด่งดังทั่วโลกมาให้
PGP – Preferred gender pronoun ซึ่งแปลว่า นามที่อยากให้เรียกตนเอง (เขา/เธอ/คุณ/ฉัน)
QPOC/QTPOC – Queer People of Color and Queer and/or Trans People of Color แปลว่า กลุ่มคนที่ไม่ทราบแน่ชัดทางเพศที่เป็นผิวหลากสี
QUILTBAG – ย่อมาจาก Queer and/or Questioning, Undecided, Intersex, Lesbian, Trans*,
Asexual, Two-Spirit, Bisexual and/or Allied and Gay and/or Gender Queer ซึ่งก็คือการรวมหลายคำในกลุ่มหลากหลายทางเพศ
SAAB – Sex assigned at birth แปลว่า จะยึดถือเพศตามเพศกำเนิด
SGL – Same Gender Loving แปลว่า รักร่วมเพศ แต่คำลักษณะแบบนี้ถูกใช้ในกลุ่มผิวสีเนื่องจากไม่อยากใช้คำจากกลุ่มคนผิวขาว
SOGI (โซจี้) – Sexual Orientation and Gender Identity แปลว่า รสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทาเงพศ เป็นตัวย่อที่ไว้ใช้ในศัพท์ทางการของ UN เพื่อพูดถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศ
SOGIESC (โซจี้ส) – Sexual Orientation, Gender Identity, Gender Expression, Sex Characteristics เป็นตัวย่อเพิ่มเติมจากคำเบื้องต้น โดยเพิ่งเพิ่ม Gender Expression กับ Sex Characteristics เพื่อรวมการแสดงออกทางเพศและลักษณะอวัยวะเพศ เพื่อจับกลุ่มได้หลากหลายมากขึ้น ใช้ส่วนมากในกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร
SRS – Sexual Reassignment Surgery แปลว่าการแปลงเพศ
TGNC/TGNCNB – Transgender and Gender Non-Conforming แปลว่ากลุ่มคนข้ามเพศ หรือเพศที่ไม่เป็นตามลักษณะเพศกำเนิด
ที่มาของข้อมูล: https://outrightinternational.org/content/acronyms-explained